เล็กๆ น้อยๆ อย่ามองข้าม จากที่ผ่านมา เราได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการบกพร่องของระบบจะน้อยมาก ถ้าจะเทียบกับที่เกิดจากปัญหา และปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ก่อนอื่นเราต้องมองง่ายๆ ว่า ระบบรีโมทประตูรั้วก็เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่มันไม่ได้ตั้งไว้ใช้งานเฉยๆ เหมือนทีวี, พัดลม, หม้อหุงข้าว ฯลฯ แต่มันติดตั้งเพื่อที่จะบังคับให้ประตูเปิด และปิด เพราะฉะนั้นถ้าส่วนใดๆ ของประตูมีปัญหา เช่น รางทรุด, ล้อแตก, ล้อประคองฝืดหรือหลุด มันก็จะส่งผลทำให้มอเตอร์ทำงานมากขึ้น หรือหนักขึ้น บางครั้งก็ยังใช้งานได้จนลูกค้าทนใช้งานต่อไป พอเสียมากๆ ขึ้นมา ทำให้ต้องซ่อมใหญ่หรืออาจต้องเปลี่ยนมอเตอร์กันเลยที่เดียว
ถ้าเรากลัวว่ามอเตอร์ทำงานหนักเกิน และอาจไม่รู้ว่าประตูจะเสียเมื่อไร ก็เลือกมอเตอร์ที่รับน้ำหนักไว้มากๆ ก่อน ผิดครับ คิดอย่างนี้ผิด ต่อให้คุณไม่ได้ใช้ระบบมอเตอร์รีโมท ก็ต้องดูแลการเคลื่อนที่ของประตูอยู่ดี บางบ้านประตูเล็ก เหล็กโปร่งๆ ธรรมดา ทำไมเลื่อนต้องใช้แรงผลักมาก เราก็ต้องหาสาเหตุและแก้ไขให้ได้ก่อนที่จะติดรีโมท เพราะถ้าเราผลักปัญหาของประตูออกไป และเอาระบบรีโมทมาติดตั้ง ที่นี้และครับปัญหามันจะมาอยู่ที่มอเตอร์ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่อะไรก็ไม่เท่ากับลูกค้าจะเสียความรู้สึกกับองค์กรถ้าไม่เข้าใจปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้น
ระหว่างการใช้งาน ดูแล้วเหมือนง่ายๆ ไม่มีอะไร แค่กดรีโมท ก็เท่านั้น ไม่หรอกนะครับ บางครั้งเราอาจมองข้ามปัญหาเล็กน้อยไปจนปัญหามันมากขึ้น เอาเป็นว่าผมแนะนำไว้ง่ายๆ อย่างนี้นะครับ ถ้าเราใช้งานอยู่อย่างปกติแล้ววันนึงเกิดมีอาการที่ไม่เหมือนตั้งแต่ติดตั้งใหม่ๆ โทรปรึกษาบริษัทฯ นั้นก่อน ไม่ว่าแค่มีเสียงดัง, รีโมทกดใกล้, กดติดบ้างไม่ติดบ้าง จะได้ให้คำปรึกษา หรือต้องเข้าบริการกันอย่างทันที
รายละเอียดต่างๆ ในการใช้งานยังมีอีกมาก เราต้องให้คำปรึกษา และแนะนำอยู่เสมอ
ข้อสำคัญควรระวัง
- อย่าให้เด็กเล่นบริเวณหน้าประตู หรือโหนประตูเล่น
- อย่าเลื่อนประตูโดยอยู่ตรงกลางของประตู ควรอยู่ด้านหัว หรือด้านท้าย เวลาประตูล้มจะสามารถกระโดดหลบออกได้ทัน
- อย่าใช้จารบีใส่ตำแหน่ง ล้อ, ล้อประคอง, เฟืองสะพาน(กรณีมีรีโมท) เพราะจะนำเศษสิ่งสกปรกมาเกาะ นานวันก็จะกลายเป็นก้อนติดอยู่ซึ่งจะไม่ไหล หรือซึมเข้าไปในจุดที่ต้องเคลื่อนตัวอยู่ตลอด ควรใช้น้ำมันเครื่องเก่า, น้ำมันจักร หรือ sonax ดีกว่า
เรื่องน่ารู้ก่อนตัดสินใจ
*** การเลือกกำลังมอเตอร์ควรให้เหมาะสมกับ น้ำหนักประตู ไม่ควรเล็กหรือใหญ่จนเกินไป โดยเฉลี่ยน้ำหนักประตู ที่ใช้วัสดุทำจากเหล็กผสมไม้จะหนัก โดยขนาดประตูที่สูง 2.5 ม. ยาว 1 เมตร หนักประมาณ 100 กก. หากประตูยาว 6 เมตร ก็จะหนัก 600 กก. หรือขึ้นอยู่กับวัสดุของประตู และการใช้งานเป็นประจำว่ามีจุดบกพร่องอยู่หรือไม่ บางครั้งประตูเล็กแต่หนัก แสดงว่าล้ออาจแตก หรือลูกปืนตายหมดแล้วจึงทำให้เกิดน้ำหนักที่เป็นส่วนเกินไป การส่งพนักงานไปดูหน้างานก็จะทำให้สรุปได้ 100% ครับ
*** มอเตอร์เกียร์แบบ แห้ง คือ ระบบห้องเกียร์ตัวมอเตอร์เคลือบด้วย “ จารบีพิเศษ (Molytinum)” เป็นสารหล่อลื่นที่ทนความร้อนได้สูงมาก (เช่นใช้ในเบรกรถยนต์) อายุการใช้งานนาน ไม่ต้องดูแลรักษา โดยจารบีเป็นตัวหล่อลื้น และใช้อากาศในการระบายความร้อน ข้อดีคือ ไม่ต้องดูแลมากนัก เพราะไม่มีจารบีรั่ว ส่วนข้อเสียคือ ใช้งานไม่ได้บ่อย เพราะมอเตอร์จะร้อนเร็ว จึงเหมาะกับประตูบ้านทั่วไปที่เปิดปิดไม่เกิน 15 ครั้ง/ชั่วโมง
*** มอเตอร์เกียร์น้ำมัน คือ ระบบห้องเกียร์ตัวมอเตอร์แช่อยู่ในน้ำมันไฮโดรลิก โดยใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื่น ลดการสึกหรอของเกียร์ และระบายความร้อนได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ มอเตอร์ราคาแพง และต้องสังเกตุว่ามีน้ำมันรั่วหรือซึมออกมาหรือไม่ เพราะใช้ไปนานๆ ยางซีลกันรั่วต่างๆ หมดอายุต้องเปลี่ยน โดยมากจะใช้กับประตูขนาดใหญ่ หรือต้องเปิด-ปิดบ่อย เช่น เปิด-ปิดมากกว่า 15 ครั้ง/ชั่วโมง
*** โดยเฉลี่ยอัตราการกินไฟอยู่ที่ประมาณ 3-4 บาท/เดือน สำหรับบ้านที่มีรถ 2-3 คัน เพราะมอเตอร์จะกินไฟ เฉพาะตอนประตูเปิด-ปิดเท่านั้น
*** เมื่อประตูปิดสุดประตูจะล็อคโดยอัตโนมัติ ไม่ควรใช้กุญแจไปคล้องเพิ่ม เพราะถ้าเผลอกดรีโมทเปิดประตู ในขณะที่มีกุญแจคล้องอยู่ จะทำให้มอเตอร์ถูกอัดล็อค (เหมือนกับกรณีประตูลื่นไถลไปอัดเข้ากับเสารับ) ก็จะมีปัญหาในการปลดล็อคเช่นเดียวกัน จึงไม่จำเป็นที่ต้องคล้องกุญแจเพิ่ม ยกเว้นถ้าไม่ได้อยู่บ้านนานๆ ก็ปลดล็อคมอเตอร์ไว้ก่อน แล้วจึงคล้องกุญแจก็ได้